วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

เครื่องมือวัดและทดสอบระบบภาพ

ออสซิลโลสโคป OSCILLOSCOPE











ออสซิลโลสโป ( oscilloscope ) หรือเรียกสั้นๆ ว่าสโคป ( scope ) จัดเป็นเครื่องมือวัดที่มีความ หมาย และ สำคัญในการใช้งาน และถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางทั่วไป ทั้งในด้านไฟฟ้าและด้านอิเล็กทรอนิกส์ ข้อดีของออสซิสโลสโคปคือ สามารถแสดงปรากฎการณ์ของสิ่งที่วัดได้ทันทีและละเอียดชัดเจน ให้การตอบ สนองและแสดงผลได้อย่างรวดเร็วกว่ากัลวานอมิเตอร์ หรือมัลติมิเตอร์ขนาดเข็นชี้ ออสซิลโลสโคปคือ เครื่องมือวัดแรงดันไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงตลออดเวลา โดยสามารถวัดแรงดันไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงเป็นอัตรา ส่วนของเวลาออสซิลโลสโคปเป็นเครื่องมือวัดแรงดันจึงอาจเปลี่ยนปริมาณต่างๆ ให้อยู่ในรูปขอองแรงดันแล้ววัดด้วยออสซิลโลสโคปได้ เช่นกระแสไฟฟ้า ความดัง ความดัน ความเร่ง การสั่นสะเทือน ฯลฯ
ออสซิลโลสโคปเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างรูปคลื่น (waveform) ของสัญญาณไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยน แปลงค่าตามเวลาให้ปรากฎบนจอภาพ ซึ่งปกติจะไม่สามารถเห็นสัญญาณไฟฟ้าเหล่านั้นได้ ออสซิลโล สโคปยังสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณไฟฟ้าเหล่านั้นเทียบกับเวลาได้ ออสซิลโลสโคปยังใช้แสดงคลื่นดลและเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องเสียง นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องแสดงผลของเครื่องมือวัดบางชนิดอีกด้วย การอ่านค่าปริมาณไฟฟ้าที่แสดงบนจอของออสซิลโลสโคป ถ้าเป็นการอ่านความแรง (amplitude) ของปริมาณไฟฟ้า จะอ่านออกมาเป็นค่าพีก (peak value หรือ v P ) หรืออ่านออกมาเป็นค่าพีกทูพีก (peak to peak value หรือ v P - P ) ถ้าเป็นการอ่านค่าความถี่ (frequency) ของปริมาณไฟฟ้า จะต้องอ่านออกมาโดยเทียบกับเวลาเป็นวินาที ประโยชน์ของออสซิลโลสโคปสรุปได้ดังนี้
1. วัดแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าของสัญญาณ
2. วัดค่าเวลา คาบเวลา หรือความถี่ของสัญญาณ
3. ใช้วัดผลต่างทางเฟสของสัญญาณ 2 สัญญาณ
4. ใช้ตรวจสอบองค์ประกอบของวงจร และรูปร่างของสัญญาณ
5. ใช้ตรวจซ่อมอุปกรณ์และเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์
6. ใช้ประกอบกับเครื่องมืออื่นๆ หรือดัดแปลงไปใช้งานในด้านอื่นๆ

























รูปแสดงส่วนประกอบภายในของออสซิลโลสโคปอย่างง่าย









ส่วนประกอบที่สำคัญของออสซิลโลสโคป
หลอดรังสีแคโทด หลอดรังสีแคโทดเป็นหลอดสุญญากาศชนิดหนึ่ง มีโครงสร้างพื้นฐานประกอบ ด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน เรียงลำดับดังนี้
1. ปืนอิเล็กตรอน (electron gun) ทำหน้าที่ผลิตลำอิเล็กตรอนที่มีความเร็วสูงและมีขนาดเล็กมาก
2. ระบบเบี่ยงเบนลำอิเล็กตรอน ทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้า เมื่อลำอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านจะทำให้
ลำอิเล็กตรอนเปลี่ยนแนวการเคลื่อนที่ไป ระบบเบี่ยงเบนประกอบด้วยแผ่นเบี่ยงเบน 2 ชุด ชุดแรกเรียกว่า แผ่นเบี่ยงเบนทางแนวตั้ง (vertical deflection plates) ซึ่งต่ออยู่กับส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวตั้ง (vertical control) ทำหน้าที่เบี่ยงเบนลำอิเล็กตรอนในแนวตั้ง (แกน y) อีกชุดเรียกว่า แผ่นเบี่ยงเบนทางแนวนอน (horizontal deflection plates) ต่ออยู่กับส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวนอน (horizontal control) ทำหน้าที่เบี่ยงเบนลำอิเล็กตรอนในแนวนอน (แกน x)
3. จอภาพ (screen) เมื่อลำอิเล็กตรอนผ่านระบบเบี่ยงเบนจะไปตกบนจอภาพที่ฉาบสารเรืองแสงไว้ พลังงานของอิเล็กตรอนจะถูกถ่ายโอนให้กับสารเรืองแสง ทำให้บริเวณที่อิเล็กตรอนตกกระทบเรืองแสงขึ้น

ส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวตั้ง
ส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวตั้ง ประกอบด้วยวงจรที่สำคัญ 2 วงจรคือ วงจรลดทอนสัญญาณ (vertical attenuator) และวงจรขยายทางแนวตั้ง (vertical amplifier) เมื่อสัญญาณไฟฟ้าที่ต้องการดูถูกป้อน เข้าที่ขั้วต่อ input จะถูกส่งผ่านไปยังวงจรลดทอนสัญญาณ สัญญาณที่ออกมาจะมีขนาดเล็กลง จากนั้นจะถูกส่งต่อไปยังวงจรขยาย แล้วป้อนเข้าสู่แผ่นเบี่ยงเบนทางแนวตั้ง เพื่อสร้างสนามไฟฟ้าไปเบี่ยงเบน ลำอิเล็ก ตรอนในแนวตั้งต่อไป

ส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวนอน
ส่วนควบคุมสัญญาณทางแนวนอนมีวงจรที่สำคัญคือ วงจรกำเนิดความถี่การกวาด (sweep) หรือ time base ganerator) ทำหน้าที่ผลิตสัญญาณรูปฟันเลื่อย (sawtooth) สัญญาณนี้จะถูกป้อนไปยังแผ่นเบี่ยง เบนทางแนวนอน ทำให้ลำอิเล็กตรอนเบี่ยงเบนหรือกวาดในแนวนอน ถ้าความถี่ของสัญญาณรูปฟันเลื่อยไม่สัมพันธ์กับสัญญาณที่จะดู (ซึ่งถูกป้อนเข้าที่ขั้ว input) จะทำให้ได้รูปคลื่นของสัญญาณที่จะดูไม่ซ้อนทับกันและไม่นิ่ง แต่ถ้าสามารถปรับความถี่การกวาดให้ตรงกันแล้วจะได้รูปคลื่นที่นิ่ง วิธีการนี้เรียกว่า การเข้า จังหวะ (syncronization)

ชนิดของออสซิลโลสโคป ออสซิลโลสโคปที่ถูกสร้างขึ้นมาใช้งานในห้องปฏิบัติการ หรือใช้งานทั่วๆไป มีด้วยกันหลายชนิด ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้งาน ตามปกติจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ตามการตอบสนองความถีของออสซิโลสโคป ออสซิโลสโคปชนิดนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองความถี่(frequency respone)แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1.1 ออสซิโลสโคปชนิดความถี่ต่ำ(low frequency oscilloscope)สามารถตอบสนองความถี่ที่ใช้งานได้อยู่ในย่าน 0-10เมกะเฮิรตซ์
1.2 ออสซิโลสโคปชนิดความถี่สูง (high frequency oscilloscope) สามารถตอบสนองความถี่ที่ใช้งานได้ถึงประมาณ 50 เมกะเฮิรตซ์
1.3 ออสซิโลสโคปชนิดแซมปลิง( sampling oscilloscope)เป็นออสซิโลสโคปที่สามารถตอบสนองความถี่ได้สูงมากๆ สามารถวัดความถี่ได้ถึงประมาณ 20 จิกะเฮิตรซ์
2. ตามการทำงานของออสซิโลสโคป ออสซิโลสโคปชนิดที่ขึ้นอยู่กับการทำงาน ( working operation) แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิดคือ
2.1 X-Y ออสซิโลสโคป (X-Y oscilloscope) เป็น sweep oscilloscope)ที่ไม่มีวงจรกำเนิดความถี่รูปฟันเลื่อยอยู่ภายใน การแสดงสัญญาณอยู่บนจอ CRT(cathode ray tube) ขึ้นอยู่กับการควบคุมทำงานจากศักย์ไฟฟ้าที่จ่ายให้แผ่นเพลตควบคุมการบ่ายเบนแนวตั้ง (vertical deflection plates) เพลตควบคุมการบ่ายเบนแนวนอน ( (horizontion deflection plates)สามารถนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขว้าง










2.2 ออสซิลโลสโคปชนิดกวาดต่อเนื่อง(continuous sweep oscilloscope)หรือ YT ออสซิโลสโคป
(Y-TIME oscilloscops) เป็นออสซิโลสโคปที่ผลิตขึ้นมาใช้งานทั่วไป มีวงจรกำเนิดความถี่รูปฟันเลื่อย(sawtooth)อยู่ภายใน โดยเป็นตัวกำหนดความถี่ฐานเวลา








3. ดีเลย์สวีปออสชิลโลสโคป (delayed sweep oscilloscope) เป็นออสซิโลสโคปชนิดกวาดต่อ
เนื่องนั่นเอง โดยการเพิ่มภาครีเลย์สวีปเข้าไป เพื่อช่วยในการขยายภาพในส่วนที่ต้องการให้ใหญ่ขึ้นทำให้สามารถศึกษารายละเอียดจากสัญญาณต่างๆนั้นได้









4. สตอเรจออสซิลโลสโคป(storge oscilloscope) เป็นออสซิลโลสโคปชนิดกวาดต่อเนื่องเช่นกัน
โดยการเพิ่มภาคสตอเรจเข้าไป เพื่อช่วยในการจำภาพสัญญาณที่ทำการวัดให้คงอยู่ ถึงแม้จะหยุดการวัดสัญญาณดังกล่าวแล้ว









5. โปรแกรมเมเบิลออสซิลโลสโคป (programmable osicilloscope) เป็นออสซิลโลสโคปที่สร้าง
ขึ้นโดยรวมเอาออสซิลโลสโคปจากชนิดที่ 1 ถึงชนิดที่ 4 ใว้ในตัวเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถเก็บและจำข้อมูลได้ถึง 100 ลำดับ สามารถกำหนดสัญญาณแซมปลิงขึ้นมาให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ต่อพ่วงข้อมูล ลงไปพิมพ์ลงบนเครื่องพิมพ์ (print) ได้ 3.ตามชนิดของจอภาพในปัจจุบันจอภาพของออสซิลโลสโคป ที่ถูกผลิตขึ้นมาใช้งาน มีทั้งชนิดที่ทำมาจากหลอดสูญญากาศ CRT (cathode ray tube) และทำมาจากโซลิดสเตต LCD (liquid crystal displays)แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 1.จอภาพ CRT ฉาบสารฟอสเฟอร์ชนิดเรื่องแสงได้ไมนาน(short persistance phosphor CRT) จะเรืองแสงได้นานประมาณ 20 มิลลิวินาทีขึ้นไป 2. จอภาพ CRT ฉาบสารฟอสเฟอร์ชนิดเรื่องแสงได้นาน(long persistance phosphor CRT) จะเรืองแสงได้นานประมาณ 1 วินาทีขึ้นไป 3.จอภาพ LCD (LCD screen) เป็นจอภาพที่ทำมาจากคริสตอลเหลว ทำให้สามารถสร้างจอออสซิโลสโคปชนิดแบนได้ จอจะประกอบด้วยจุดแสดงผลต่อแบบแมทริกซ์ (dot matrix) จำนวนมากแสดงผลได้อย่างชัดเจน มีขนาดเล็กพกพาได้ง่ายและใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ











3.ออสซิลโลสโคปที่ใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์มี 2 แบบ ได้แก่ ออสซิลโลสโคปหนึ่ง
แชนแนล และออสซิลโลสโคปสองแชนแนล ออสซิลโลสโคปหนึ่งแชนแนล (single trace oscilloscope)
ออสซิลโลสโคปหนึ่งแชนแนลเป็นออสซิลโลสโคปที่ให้เส้นภาพเส้นเดียว ใช้งานได้ง่ายที่สุดใน
บรรดาออสซิลโลสโคปทั้งหลาย ใช้สำหรับศึกษารูปคลื่นของสัญญาณไฟฟ้าต่าง ๆ ได้รูปเดียว ออสซิลโล สโคปชนิดนี้ สามารถวัดแรงดันไฟตรง แรงดันไฟสลับ วัดคาบ และความถี่ของสัญญาณไฟฟ้าสลับ นอก จากนี้ยังวัดเฟส และความถี่ของสัญญาณรูปไซน์ด้วยวิธีลิศซาจูส์






















สโคป 1 แชนแนล สโคป 2 แชนแนล

ออสซิลโลสโคปสองแชนแนล (dual trace oscilloscope)
ออสซิลโลสโคปสองแชนแนลเป็นออสซิลโลสโคปที่มีเส้นภาพสองเส้น จึงใช้ศึกษารูปคลื่นของสัญญาณไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ 2 รูปในเวลาพร้อมกันได้ ออสซิลโลสโคปชนิดนี้นอกจากจะใช้งานได้เหมือนออส ซิลโลสโคปหนึ่งแชนแนลแล้ว ยังสามารถใช้ศึกษาส่วนต่างของสัญญาณ ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลา ศึกษาเปรียบเทียบรูปคลื่นของสัญญาณทั้งสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถแสดงรูปคลื่นที่เป็นผลรวมของสัญญาณทั้งสองได้อีกด้วย
สำหรับในหนังสือเล่มนี้ จะขอยกตัวอย่างและอธิบายการใช้งาน ออสซิลโลสโคปยี่ห้อ hitachi รุ่น V212 เป็นออสซิลโลสโคปสองแชนแนล ที่สามารถแสดงรูปคลื่นที่มีความถี่ตั้งแต่ DC ถึง 20 MHz มีความไว 5mV/div ฐานเวลา (time base) ของ trigger sweep มีอัตราการกวาดลำอิเล็กตรอนสูงสุด 0.2 ภายในเครื่องมีแหล่งสัญญาณรูปคลื่นสี่เหลี่ยมความถี่ 1kHz และแรงดัน 0.5 V ใช้สำหรับปรับโพรบ ออสซิลโลสโคป hitachi รุ่น V212 มีลักษณะและส่วนประกอบตามลำดับหมายเลขดังนี้


























รูปแสดงส่วนประกอบของออสซิลโลสโคปสองแชนแนลของฮิตาชิ รุ่น V212
หน้าที่ของสวิตช์ ปุ่มและขั้วต่อต่าง ๆ (ส่วนใหญ่ทุกๆยี่ห้อจะคล้ายกัน)
หมายเลข ชื่อ
หน้าที่
1 POWER
สวิตช์ชนิดกดสำหรับเปิด-ปิด เมื่อกดสวิตซ์เครื่องอยู่ในภาวะทำงาน (ON) และเมื่อกดสวิตซ์อีกครั้ง เครื่องจะอยู่ในภาวะหยุดทำงาน (OFF)
2 หลอดไฟ
เมื่อกดสวิตซ์ POWER หลอด LED สีแดงจะติด ขณะนี้เครื่องอยู่ในสภาวะพร้อมทำงาน (ON)
3 FOCUS
ปุ่มปรับความคมชัด หลังจากปรับปุ่ม INTENSITY จนได้ความสว่างพอเหมาะแล้ว จึงปรับปุ่ม FOCUS จนได้เส้นภาพที่มีความคมชัดที่สุด
4 TRACE ROTATION
สกรูปรับความลาดเอียง ใช้ปรับความลาดเอียงของเส้นฐานให้วางตัวในแนวนอน
5 INTENSITY
ปุ่มปรับความสว่าง ใช้สำหรับปรับความสว่างของเส้นภาพโดยความสว่างจะเพิ่มขึ้นเมื่อหมุนตามเข็มนาฬิกา และความสว่างจะลดลงเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา
6 POWER SOURCE
สวิตซ์เลือกขนาดของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งต้องเลือกที่ 220 VAC สวิตซ์นี้อยู่ด้านหลังเครื่อง
7 AC INLET
เต้ารับสำหรับต่อสายไฟ 220VAC เต้ารับนี้อยู่ด้านหลังเครื่อง
8 INPUT
ขั้วต่อ Input ของ CH1 (แบบ BNC) ใช้สำหรับต่อสัญญาณเข้าระบบเบี่ยงเบนทางแนวตั้งของเครื่อง สามารถวัดแรงดันได้สูงสุด 300 V (300VDC, 300 VACpeak)
9 INPUT
ขั้วต่อ input ของ CH2 ทำหน้าที่เหมือนขั้วต่อ input ของ CH1
10 ,11 AC-GND-DC
สวิตซ์โยก ใช้สำหรับเลือกการเชื่อมต่อสัญญาณด้านเข้าของ CH1 และ CH2 ตามลำดับ กับระบบเบี่ยงเบนทางแนวตั้งของเครื่อง มี 3 ตำแหน่ง คือ AC GND และ DC AC: เมื่อโยกสวิตซ์ไปที่ตำแหน่งนี้ ส่วนประกอบที่เป็นกระแสตรง (DC) ของสัญญาณด้านเข้าจะถูกตัดออก เหลือเฉพาะส่วนประกอบที่เป็นแรงดันไฟกระแสสลับ (AC) เท่านั้นที่ปรากฏบนจอภาพ GND: เมื่อโยกสวิตซ์ไปที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณด้านเข้าจะถูกต่อลงดิน DC : เมื่อโยกสวิตซ์ไปที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณด้านเข้าจะถูกต่อตรงปรากฏบนจอภาพโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือจะมีส่วนประกอบทั้งที่เป็นแรงดันไฟกระแสตรงและแรงดันไฟกระแสสลับ
12 ,13 VOLTS/DIV
สวิตซ์เลือก ใช้สำหรับปรับขนาด (แอมพลิจูด) ของสัญญาณทางแนวตั้งที่ถูกป้อนเข้ามาทางขั้วต่อ Input ของ CH1 และ CH2 ตามลำดับ ให้มีขนาดพอเหมาะ โดยมีค่าความไวทางแนวตั้งให้เลือกตั้งแต่ 5mV/div ถึง 5V/div แบ่งเป็น 10 ชั้น ในระบบ 1-2-5 สวิตซ์เลือก VOLTS/DIV ต้องใช้ร่วมกับ 14 15 VAR โดยหมุนปุ่ม VAR ตามเข็มนาฬิกาจนถึง CAL จึงจะอ่านค่าแรงดันที่ถูกต้อง
14 ,15 VAR
ปุ่มสีแดงใช้ปรับขนาด (แอมพลิจูด) ของสัญญาณทางแนวตั้งของ CH1 และ CH2 ตามลำดับ โดยทำงานร่วมกับสวิตซ์เลือก 12 13 VOLTS/DIV เมื่อดึงปุ่มนี้ขึ้น แอมพลิจูดของรูปคลื่นจะเพิ่มขึ้น 5 เท่า (PULL X 5 GAIN) ทำให้ง่ายแก่การสังเกตรูปคลื่น
16 POSITION
ปุ่มปรับการเลือกเส้นภาพขึ้น-ลงของสัญญาณด้านเข้าของ CH1 เมื่อหมุนปุ่มตามเข็มนาฬิกา เส้นภาพจะเลื่อนขึ้น และจะเลื่อนลงเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา
17 POSITION
ปุ่มปรับการเลือกเส้นภาพขึ้น-ลงของสัญญาณด้านเข้าของ CH2 เมื่อหมุนปุ่มตามเข็มนาฬิกา เส้นภาพจะเลื่อนขึ้น และ จะเลื่อนลงเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา เมื่อดึงปุ่มนี้ สัญญาณด้านเข้าของ CH2 จะกลับขั้ว (PULL INVERT) ทำให้เฟสของสัญญาณเปลี่ยนไป 180 องศา (ใช้ในการหาผลรวมหรือผลต่างของสัญญาณด้านเข้าของ CH1 และ CH2)
18 MODE
สวิตซ์เลือก ใช้สำหรับเลือกแบบการทำงาน มีให้เลือก 5 แบบ คือ CH1, CH2, ALT, CHOP และ ADD แต่ละแบบมีหน้าที่ดังนี้ CH1 : สัญญาณด้านเข้าของ CH1 เท่านั้นที่จะปรากฏบนจอภาพ CH2 : สัญญาณด้านเข้าของ CH2 เท่านั้น ที่จะปรากฏบนจอภาพ ALT : สัญญาณด้านเข้าของ CH1 และ CH2 จะปรากฏบนจอภาพสลับกัน (alternate) เหมาะสำหรับการวัดสัญญาณ 2 สัญญาณที่มีความถี่สูง CHOP : สัญญาณด้านเข้าของ CH1 และ CH2 จะถูกสวิตซ์ด้วยความถี่ประมาณ 250 kHz ทำให้สัญญาณทั้งสองปรากฏบนจอภาพได้พร้อมกัน เหมาะสำหรับการวัดสัญญาณ 2 สัญญาณที่มีความถี่ต่ำ ADD : สัญญาณด้านเข้าของ CH1 และ CH2 จะถูกรวมกันแบบ พีชคณิต แล้วจึงปรากฏบนจอภาพ ถ้าสัญญาณด้านเข้าของCH2 ถูกกลับขั้วโดยการดึงปุ่ม 17 POSITION ก็จะได้สัญญาณที่เป็นผลต่างของสัญญาณทั้งสองปรากฏบนจอภาพ
19 CH1 OUTPUT
ขั้วต่อแบบ BNC ให้ตัวอย่างของสัญญาณด้านเข้าของ CH1 ขั้วนี้อยู่ด้านหลังเครื่อง
20 ,21 DC BAL
สกรูปรับความสมดุล ทำหน้าที่ปรับระดับ DC ของสัญญาณด้านเข้าของระบบเบี่ยงเบนทางแนวตั้งให้สมดุล โดยปกติปุ่มนี้จะถูกปรับแต่งแล้ว
22 TIME/DIV
สวิตซ์เลือกใช้สำหรับเลือกเวลาการกวาด(sweep time) มีค่าให้เลือกตั้งแต่ 0.2 ถึง 0.2 s/div แบ่งเป็น 19 ชั้น ในระบบ 1-2-5 เมื่อบิดสวิตซ์เลือกตามเข็มนาฬิกาไปจนสุดที่ x-y เครื่องจะทำงานเป็น x-y oscilloscope ที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณ x (แกนตั้ง) จะต่อเข้ามาทาง CH1 และสัญญาณ y (แกนนอน) จะต่อเข้ามาทาง CH2
23 SWP VAR
ปุ่มปรับเวลาการกวาดแบบละเอียด โดยทำงานร่วมกับสวิตซ์เลือก 22 TIME/DIV ปกติปุ่มนี้จะถูกหมุนตามเข็มนาฬิกาไปอยู่ที่ตำแหน่ง CAL ซึ่งจะให้เวลาการกวาดตรงกับค่าที่อ่านได้จาก TIME/DIV เมื่อหมุนในทิศทวนเข็มนาฬิกาจนสุด จะยืดเวลาการกวาดออกไปเป็น 2.5 เท่าหรือมากกว่า
24 POSITION
ปุ่มปรับการเลื่อนเส้นภาพไปทางซ้าย-ขวาในแนวนอน เมื่อหมุนปุ่มตามเข็มนาฬิกา เส้นภาพจะเลื่อนไปทางขวา และจะเลื่อนไปทางซ้ายเมื่อหมุนทวนเข็มนาฬิกา เมื่อดึงปุ่มนี้ เส้นภาพจะขยายออก 10 เท่าซึ่งจะทำให้เวลาการกวาดมีค่าเป็น 10 เท่าของค่าที่อ่านได้จาก TIME/DIV ด้วย แต่เวลาการกวาดจะมีค่าเป็น 1/10 ของค่าที่แสดงตาม TIME/DIV
25 SOURCE
สวิตซ์โยก ใช้สำหรับเลือกแหล่งของสัญญาณทริกเกอร์ให้กับออสซิลโลสโคป มี 3 แหล่งคือ INT, LINE และ EXT INT : ที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณด้านเข้าที่ CH1 และ CH2 จะถูกใช้เป็นสัญญาณทริกเกอร์ LINE: ที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณไฟสลับแรงดันต่ำจากแหล่งจ่ายภายในเครื่องจะถูกใช้เป็นสัญญาณทริกเกอร์ EXT: ที่ตำแหน่งนี้ สัญญาณจากภายนอกที่ป้อนเข้ามาทางขั้วต่อ TRIG IN จะถูกใช้เป็นสัญญาณทริกเกอร์
26 INT TRIG
สวิตซ์โยก ใช้สำหรับเลือกแหล่งของสัญญาณทริกเกอร์ที่อยู่ภายใน มี 3 ตำแหน่ง คือ CH1, CH2 และ VERT MODE CH1 : สัญญาณด้านเข้าที่ CH1 จะถูกใช้เป็นสัญญาณทริกเกอร์ CH2 : สัญญาณด้านเข้าที่ CH2 จะถูกใช้เป็นสัญญาณทริกเกอร์ VERT MODE: สำหรับการวัดสัญญาณ 2 สัญญาณ สัญญาณทริกเกอร์จะเปลี่ยนสลับกันให้สอดคล้องกับสัญญาณด้านเข้าที่ CH1 และ CH2
27 TRIG IN
ขั้วต่อแบบ BNC ใช้สำหรับสัญญาณทริกเกอร์จากภายนอก เมื่อสวิตซ์โยก 25 SOURCE อยู่ที่ตำแหน่ง EXT สัญญาณทริกเกอร์ที่ป้อนเข้ามาจะต้องมีแรงดันไม่เกิน 300V peak
28 LEVEL
ปุ่มสำหรับปรับระดับสัญญาณทริกเกอร์ เพื่อส่งไปควบคุมสัญญาณด้านเข้าที่ปรากฏบนจอภาพให้หยุดนิ่ง ถ้าปรับระดับสัญญาณไม่ถูกต้องเส้นภาพจะเลื่อนไม่หยุดนิ่ง ปุ่มนี้ยังใช้เลือก slope (เฟสของสัญญาณทริกเกอร์) ในสภาวะปกติ ปุ่มนี้อยู่ในตำแหน่งกด slope เป็น + เมื่อปุ่มถูกดึงขึ้น slope เป็น -

29 TRIG MODE
สวิตซ์โยก ใช้สำหรับควบคุมการทริกเกอร์ให้เส้นภาพหยุดนิ่ง มี 4 ตำแหน่งคือ AUTO, NORM,TV(V) และ TV(H) AUTO : เป็นการควบคุมโดยอัตโนมัติ NORM : เป็นการควบคุมโดยการปรับด้วยมือ TV(V) : เป็นการควบคุมด้วยสัญญาณ TV ทางแนวตั้ง จะใช้เมื่อต้องการสังเกตภาพในแนวตั้งทั้งหมดของสัญญาณ TV TV(H) : เป็นการควบคุมด้วยสัญญาณ TV ทางแนวนอน จะใช้เมื่อต้องการสังเกตภาพในแนวนอนทั้งหมดของสัญญาณ TV
30 EXT BLANKING INPUT
ขั้วต่อ Input แบบ BCN สำหรับสัญญาณภายนอกที่จะป้อนเข้าเพื่อควบคุมความสว่างของเส้นภาพ ขั้วนี้อยู่ด้านหลังของเครื่อง
31 CAL 0.5 V
ขั้วที่ให้สัญญาณรูปคลื่นสี่เหลี่ยมความถี่ 1 Khz และแรงดัน 0.5 V ใช้เป็นสัญญาณสำหรับตรวจสอบการทำงานของออสซิลโลสโคปและใช้ปรับแต่ง สายวัด (Probe) ให้ถูกต้อง
32
ขั้วต่อลงกราวด์ของออสซิลโลสโคป

การเตรียมเครื่องก่อนใช้งาน
ก่อนใช้งาน ผู้ใช้ควรศึกษาหน้าที่ของสวิตซ์ ปุ่มและขั้วต่อต่าง ๆ ของออสซิลโลสโคป เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด การปรับปุ่มต่าง ๆ ก่อนเปิดเครื่อง ควรปรับปุ่มต่าง ๆ ให้อยู่ตำแหน่งที่เหมาะสม ดังตาราง
ตาราง แสดง ตำแหน่งของปุ่มต่าง ๆ ก่อนเปิดเครื่องใช้งาน
ปุ่ม
ตำแหน่ง
ปุ่ม
ตำแหน่ง
1 POWER
ปิดเครื่อง
22 TIME/DIV
0.5 ms/div
3 FOCUS
กึ่งกลาง
23 SWP VAR
CAL
5 INTENSITY
ทวนเข็มนาฬิกาจนสุด
24 POSITION
กึ่งกลาง ,กดลง
10 ,11 AC-GND-DC
GND
25 SOURCE
INT
12 ,13 VOLTS/DIV
50 mV/div
26 INT TRIG
CH1
14 ,15 VAR
CAL ,กดลง
28 TRIG LEVEL
กึ่งกลาง ,กดลง
16 ,17 POSITION
กึ่งกลาง ,กดลง
29 TRIG MODE
AUTO
18 MODE
CH1


หมายเหตุ
1. หลังจากปรับปุ่มต่าง ๆ ให้อยู่ตำแหน่งที่ระบุในตาราง 1 แล้ว กดสวิตซ์เปิด-ปิด POWER หลอด LED สีแดงจะสว่างขึ้น ทิ้งเครื่องไว้สักครู่ ประมาณ 15 วินาที
2. ปรับปุ่ม INTENSITY ตามเข็มนาฬิกา จนกระทั่งมีเส้นภาพปรากฏบนจอภาพ ปรับปุ่ม FOCUS จนได้เส้นภาพคมชัดที่สุด (เมื่อใช้งานออสซิลโลสโคปเสร็จแล้ว ควรปรับปุ่ม FOCUS ให้เส้นภาพพร่าและหมุนปุ่ม INTENSITY ทวนเข็มนาฬิกาจนสุดเพื่อรักษาจอภาพให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น)
3. ในกรณีที่เส้นฐาน (base line) เอียงจากสเกลแนวนอนเล็กน้อย (สาเหตุเนื่องมาจากสนามแม่เหล็ก) ให้ใช้ไขควงแบนหมุนปุ่ม TRACE ROTATION จนเส้นฐานวางตัวในแนวราบ

ข้อควรระวังในการใช้ออสซิลโลสโคป มีดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการใช้ออสซิลโลสโคปในบริเวณที่ถูกแสงแดดโดยตรง มีอุณหภูมิและความชื้นสูง รวมทั้งในบริเวณที่มีฝุ่นละอองมากหรือมีการสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องได้
2. หลีกเลี่ยงการใช้งานในบริเวณที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าหรือใกล้แหล่งจ่ายไฟขนาดใหญ่ อาจได้รับอิทธิพลจากสนามแม่เหล็ก ซึ่งจะทำให้รูปคลื่นบนจอภาพผิดไปได้
3. ไม่ควรวางสิ่งของหรือใช้ผ้าคลุมเครื่อง เพราะจะไปขัดขวางการระบายความร้อนของตัวเครื่อง อาจทำให้เครื่องชำรุดได้ ควรวางเครื่องในที่ที่มีการระบายความร้อนได้ดี
4. สัญญาณด้านเข้าที่ป้อนเข้าที่ขั้วต่อ INPUT ต้องมีค่าไม่เกิน 300Vpeak
5. ไม่ควรเพิ่มความสว่างของเส้นแสงให้มากเกินไปจะทำให้ผิวที่ฉาบสารเรืองแสงของหลอด CRT เสื่อมได้ง่าย
6. ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ ไม่ควรใช้ฟิวส์ที่มีขนาดต่างจากที่กำหนด อาจจะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ สำหรับออสซิลโลสโคปเครื่องนี้ใช้ฟิวส์ขนาด 1A สำหรับ 220 VAC
การเปลี่ยนฟิวส์ ให้ดำเนินการดังนี้
- ต้องถอดปลั๊กไฟ (220VAC) ที่ต่อเข้าเครื่องออกก่อนเสมอ
- เปิดฝากรอบ
- เอาฟิวส์ที่ขาดออก แล้วใส่ฟิวส์ขนาด 1A เข้าแทนที่
7. การเก็บรักษาเครื่องควรเก็บอย่างระมัดระวังให้ห่างจากสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นและอุณหภูมิสูงเกินไป และห่างจากบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนและมีสนามแม่เหล็ก นอกจากนี้ควรมีการทำความสะอาดจอภาพเป็นครั้งคราวโดยใช้ผ้าเช็ดเบา ๆ
เพื่อให้ใช้เครื่องได้เป็นเวลานานผู้ใช้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในคู่มือการใช้ที่ให้มาพร้อมกับเครื่อง เมื่อใช้เสร็จแล้วควรปรับสวิตซ์และปุ่มต่าง ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เสนอแนะไว้ใน "ตาราง 1 ตำแหน่งของปุ่มต่าง ๆ ก่อนเปิดเครื่องใช้งาน" เพื่อให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไป

สายวัดหรือโพรบ
โพรบ (Probe) เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ร่วมกับออสซิลโลสโคป เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้นำ สัญญาณจากภายนอกเข้าสู่ออสซิลโลสโคป โพรบถูกออกแบบให้สามารถนำสัญญาณความถี่สูงและป้อง กันสัญญาณรบกวนจากสิ่งแวดล้อม โพรบยังทำหน้าที่เป็นตัวลดทอนสัญญาณ โดยทั่วไปโพรบจะมีสวิตช์เลือกการลดทอนสัญญาณได้ 2 ค่า คือ x 1 และ x 10 ที่ตำแหน่ง x1 ไม่มีการลดทอนสัญญาณ ที่ตำแหน่ง x10 มีการลดทอนสัญญาณลง 10 เท่า การใช้โพรบต้องนำไปต่อกับขั้วต่อ input โพรบมีลักษณะและโครงสร้างดังนี้
รูป แสดง โพรบและโครงสร้าง

ก่อนใช้โพรบ ต้องทำการปรับแต่งโพรบโดยนำขอเกี่ยวที่ปลายโพรบไปเกี่ยวที่ขั้วทดสอบ 31 CAL 0.5 V ที่ขั้วนี้จะให้สัญญาณคลื่นรูปสี่เหลี่ยมความถี่ 1 kHz แรงดัน 0.5V ถ้าโพรบอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จะได้รูปคลื่นสี่เหลี่ยมที่ไม่ผิดเพี้ยนบนจอภาพ ดังรูป ก แต่ถ้าโพรบไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จะได้รูป คลื่นสี่เหลี่ยมที่ผิดเพี้ยนบนจอภาพ ดังรูป ข และ ค ผู้ใช้ต้องทำการปรับแต่งโพรบโดยการปรับความจุ C ของตัวเก็บประจุชนิดปรับค่าได้โดยใช้ไขควงพลาสติก จนกระทั่งได้รูปคลื่นสี่เหลี่ยมเหมือนรูป ก
รูปแสดง การปรับแต่งโพรบให้พร้อมใช้งาน



การวัดเบื้องต้น
การวัดเบื้องต้นสำหรับออสซิลโลสโคป ได้แก่ การวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง แรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ คาบและความถี่ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับการวัดปริมาณอื่น ๆ ดังนี้
1.การวัดแรงดันไฟ (voltage measurement)
2.การวัดเวลา (time measurement)
3.การวัดความถี่ (frequency measurement)

การวัดแรงดันไฟตรง
1. โยกสวิตช์การเชื่อมต่อ AC GND DC ไปที่ตำแหน่ง GND จะปรากฏเส้นภาพบนจอ ตั้งสวิตช์เลือก VOLTS/DIV ให้พอเหมาะ จากนั้นปรับปุ่ม POSITION ให้เส้นภาพเลื่อนไปยังระดับอ้างอิง (reference level) OV ดังรูป 7

2. โยกสวิตช์การเชื่อมต่อ AC GND DC ไปที่ตำแหน่ง DC ต่อสัญญาณที่จะวัดเข้ากับขั้วต่อ input CH1 นำสัญญาณเข้าโดยผ่านโพรบ ปรับปุ่ม LEVEL จนเส้นภาพอยู่นิ่ง เส้นภาพจะเลื่อนไปจากเดิมโดยแรงดันไฟตรง ดังรูป 8 ซึ่งเลื่อนขึ้นไป 5 ช่อง (ในกรณีที่ไม่ปรากฏเส้นภาพแสดงว่าตั้งค่า VOLTS/DIV น้อยไป ให้ปรับค่าสูงขึ้นจนได้เส้นภาพ)

3. หาแรงดันไฟตรง ได้จาก
แรงดันไฟตรง = จำนวนช่อง ( div ) จากระดับอ้างอิง x ความไวทางแนวตั้ง ( V/div ) x การลดทอนของโพรบ
สมมติตั้งค่าความไว = 50 mV/div
การทดสอบของโพรบ = x 1 ดังนั้น
แรงเคลื่อนไฟฟ้า DC = 4.5 div x 50 mV/div x 1 = 225 mV
แต่ถ้าใช้โพรบที่ตั้งการลดทอนไว้ที่ x 10 แรงดันไฟตรงจะเป็น 10 เท่าของ 225 mV
นั่นคือ
แรงดันไฟตรง = 4.5 div x 50 mV/div x 10 = 2.25 V
ในกรณีที่สัญญาณแรงดันไฟตรง มีสัญญาณไฟสลับผสมอยู่ ดังรูป 9 ในการวัดให้ดำเนินการตามข้อ 1 และ 2

เราอาจหาแรงดันไฟตรงได้จากสมการ
แรงดันไฟตรง V
= จำนวนช่อง x ความไวทางแนวตั้ง x การลดทอนของโพรบ
จากรูป 9

องค์ประกอบ AC V p-p
= 2 div x 0.2 V/div x 10 = 4 V
องค์ประกอบ DC V
= 3 div x 0.2 V/div x 10 = 6 V
V ขณะหนึ่งที่จุด R V R
= 3.6 div x 0.2 V/div x 10 = 7.2 V





การวัดแรงดันไฟสลับ
ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. โยกสวิตช์เลือกการเชื่อมต่อ AC GND DC ไปที่ DC (ในกรณีที่แรงดันไฟตรง DC ผสมอยู่ด้วย แรงดันนี้จะถูกตัดออกไป เหลือแต่แรงดันไฟสลับ AC อย่างเดียว) ปรับสวิตช์เลือกความไวทางแนวตั้ง (VOLTS/DIV และสวิตช์เลือกอัตราการกวาด TIME/DIV ให้พอเหมาะสมกับแอมพลิจูดและความถี่ของสัญญาณที่จะวัด ต่อสัญญาณที่จะวัดเข้ากับขั้วต่อ input CH1 ปรับปุ่ม LEVEL จนกระทั่งปรากฏรูปคลื่นอยู่นิ่งบนจอภาพ ดังรูป 10

2. หาแรงดันไฟจากยอดถึงยอด V p-p จากสมการ
V p-p = จำนวนช่อง x ความไวทางแนวตั้ง x การลดทอนของโพรบ
จากจอภาพในรูป 10 จำนวนช่อง = 4 ช่อง ถ้าความไวทางแกนตั้งอยู่ที่ 0.1 V/div และการลดทอนของโพรบตั้งไว้ที่ x10 ดังนั้น

V p-p
= 4 div x 0.1 V/div x 10

= 4 V

หมายเหตุ ค่าแรงดันไฟสลับ (รูปคลื่นไซน์) ที่อ่านได้จากออสซิลโลสโคปจะไม่เท่ากับค่าที่วัดได้จากเอซีโวลต์มิเตอร์ เพราะค่าที่ได้จากออสซิลโลสโคปเป็นค่า V p-p ส่วนค่าที่วัดได้จากเอซีโวลต์มีเตอร์เป็นค่า V rms การเปลี่ยนค่าแรงดันไฟสลับจาก V p-p เป็น V rms อาจทำได้ดังนี้



การวัดคาบเวลา
เราสามารถหาคาบหรือช่วงเวลาระหว่างสองจุดใด ๆ บนสัญญาณที่กำลังตรวจสอบได้ ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. ปรับสวิตช์เลือก TIME/DIV ไปอยู่ที่ตำแหน่งที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความถี่ของสัญญาณที่กำลังตรวจสอบ โดยให้ช่วงระหว่างสองจุดที่ต้องการคือ P และ Q ดังแสดงในรูป 11

2. นับจำนวนช่องระหว่างจุด P และ Q
ช่วงเวลาระหว่างสองจุด ใด ๆ หาได้จากสมการ
ช่วงเวลาระหว่างสองจุด = ความไวทางแกนนอน x จำนวนช่องระหว่างสองจุด
จากรูปคลื่นในรูป11 จุด P และ Q ห่างกัน 2 ช่อง ถ้าสวิตช์เลือก TIME/DIV ตั้งไว้ที่ 2 ms/div ดังนั้นช่วงเวลาระหว่างจุด P และ Q

t = 2 ms/div x 2 div = 4 ms

3. อาศัยหลักการเดียวกันนี้ อาจหาคาบ (period) T ของรูปคลื่นได้
เนื่องจาก คาบ = ช่วงเวลาระหว่างสองจุดที่มีเฟสตรงกัน
จากรูปคลื่นในรูป 11 จุด A และ B มีเฟสตรงกัน

ดังนั้น
T = ช่วงเวลาระหว่างจุด A และ B = 2 ms/div x 4 div = 8 ms



การวัดความถึ่
เราอาจวัดความถี่ของสัญญาณที่ต้องการตรวจสอบได้ 2 วิธี
วิธีแรก หาความถี่จากความสัมพันธ์
จากหัวข้อ 2 การวัดเวลา เราสามารถวัดคาบ (T) ของสัญญาณได้ ส่วนกลับของคาบ T คือความถี่ f ของสัญญาณ เช่น คาบของสัญญาณที่ต้องการตรวจสอบ ความถี่ f จะมีค่าดังนี้

วิธีที่สอง หาความถี่จากรูปลิสซาจูส (Lissajou's Figures)
การหาความถี่โดยวิธีนี้ต้องอาศัยเครื่องกำเนิดสัญญาณ (signal generator) ซึ่งให้สัญญาณที่ทราบความถี่ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. บิดสวิตช์เลือก TIME/DIV ในทิศทวนเข็มนาฬิกาจนสุดที่ x-y
2. ต่อสัญญาณที่ต้องการวัด สมมติมีความถี่ f(y) เข้าออสซิลโลสโคปทางขั้วต่อ input CH1 และสัญญาณที่ทราบความถี่ f(x) จากเครื่องกำเนิดสัญญาณเข้าทางขั้วต่อ input CH2 จะเกิดเส้นภาพที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนระหว่าง f (y) และ f (x) ดังรูป 12 รูปเหล่านี้เรียกว่า ลิสซาจูส

3. เนื่องจากเราทราบค่า f(x) ดังนั้นจึงหา f(y) ได้ เช่น บนจอภาพปรากฏรูปคลื่นตรงกับรูปขวามือสุดของแถวบน และ f(x) ซึ่งอ่านค่าจากเครื่องกำเนิดสัญญาณได้เท่ากับ 100 Hz ดังนั้น

เครื่องวัดความแรงสัญญาณ










ใช้สำหรับตรวจสอบความแรงสัญญาณของช่องต่าง ๆ ในการวางระบบเคเบิ้ลทีวี (MATV, CATV) แสดงผลออกมาเป็นตัวเลข หน่วยวัดเป็น dB V ทำให้การทำงานระบบง่ายขึ้น สามารถเช็คสัญญาณโดยเลือกจะเป็นช่องหรือเลือกเป็นความถี่ก็ได้ (เช็คได้ทั้ง VL , VH , S-Band และ UHF) และสามารถวัดกระแส ไฟตามสายในงานระบบ CATV ได้ด้วย สะดวกสบายด้วยขนาดเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา พร้อมกระเป๋าสะพาย - ช่วงความถี่ 48-860 MHz (CCIR) - วัดค่าระดับสัญญาณทีวี (RF LEVEL) หน่วย dBuV - วัดความแรงของสัญญาณในระหว่าง 30-126 dBuV - แสดงผลต่างค่าระหว่าง V/A CARRIER เป็น dB - วัดค่า SLOPE ในสายเคเบิ้ลระหว่างสัญญาณ 2 สัญญาณ - วัดค่า Volt AC ในสายเคเบิ้ลทีวีได้ - ใช้ในงานติดตั้งเสาอากาศทีวี หรือ Drop wire เคเบิ้ลทีวี - ขนาดเล็กและน้ำหนักเบา มีกระเป๋าสะพาย

Specifications
Frequency range
48.25 to 855 MHz (CH2 to CH69)
Tuning channel mode "CH"
Standard TV channels
Tuning continuous mode "F"
50 KHz steps
Maximum RF input
130 dBuV (peak)
RF input impedance
75 ohm
Maximum input voltage (line volt meter)
100V A.C. rms
Measurement RF range
Continuously from 30 to 126 dBuV
Readout
Alphanumeric display 0.5 dB resolution
A.C. Line measurement range
0 to 100V rms 0.1V resolution
Audio demodulation
FM
Sound in TV CH mode "CH"
Shifted +5.5 MHz from the CH
Sound in frequency mode "F"
Not shifted. Same frequency as displayed
Internal battery
12V 0.8 Ah
Charging time
10 hours
Autonomy
4 hours and 2 hours with backlight on
Weight
860 g












เครื่องวัดสัญญาณดาวเทียม SATELLITE FINDER









เป็นเครื่องมือใช้สำหรับวัดสัญญาณ ในการปรับหน้าจานเพื่อหาตำแหน่งดาวเทียม - บอกวัดความแรงสัญญาณ โดยใช้เสียง และเข็มวัด - มีปุ่มสำหรับปรับลดสัญญาณ เพื่อความเหมาะสมในการวัดสัญญาณความถี่ 950-2400 MHz
วิธีใช้งาน 1. ต่อสาย RG-6 จาก LNB เข้า " TO LNB" ของ Satellite Finder 2. ต่อสาย RG-6 จาก Satellite Finder ทางด้านที่เขียนว่า " To REC" ไปยัง Receiver 3. ตั้งค่าความถี่สัญญาณดาวเทียมที่ต้องการ 4. ค่อยๆหมุนปุ่มปรับความไว(Sensitive)ที่อยู่ด้านล่างขวามือตามเข็มนาฬิกาอย่างช้าๆ จนเข็มเริ่มกระดิกแล้วให้หยุดหมุน 6. ปรับหน้าจานดาวเทียมเพื่อค้นหาสัญญาณ สังเกตเข็มที่ Satellite Finder หากเจอสัญญา ดาวเทียม ดวงหนึ่งดวงใด เข็มจะกระดิกจนขึ้นเต็มจอหรือเลยกลางๆจอ ให้ท่านรีบหมุนปุ่มปรับความไวถอยหลัง(ทวนเข็มนาฬิกา) ลดลงมาให้เข็มชี้อยู่ที่ตรงเลข5 หรือเลข 3 (เพื่อลดเสียงดัง ปี๊บ...และป้องกันอุปกรณ์ภาย ในตัว Satellite Finder เสียหายด้วย) ให้ท่านขันน๊อตยึดจานดาวเทียมไว้ก่อน ที่ตัว LNB ค่อยๆขยับขึ้นลงพร้อมกับค่อยๆหมุนเพื่อให้ได้สัญญาณแรงดีที่สุด หากเป็นดาวเทียมดวงที่ท่านต้องการ ที่หน้าจอทีวีจะมีแถบความแรงสัญญาณดาวเทียมจากเครื่องรับของท่านปรากฎที่ทีวีด้วย แถบความแรงของสัญญาณปรากฎให้เห็น ขอให้ใจเย็นๆ ปรับหน้าจานอย่างช้าๆต่อไป จนพบสัญญาณจากดาวเทียมดวง ที่ท่านต้องการ 7. เมื่อท่านพบสัญญาณดาวเทียมดวงที่ท่านต้องการแล้ว ให้ปรับหมุนและขยับเข้าออกตัว LNB ช้าๆ สังเกตเข็มให้ได้สัญญาณแรงดีที่สุด แล้วกลับมาปรับจานดาวเทียมอีกครั้งหนึ่งให้ได้สัญญาณแรงดีที่สุดเช่น กันแล้วปรับ LNB อย่างละเอียดให้ได้สัญญาณดีที่สุดก่อนแล้วจึงขันน๊อตทุกตัวให้แน่น 8. ถอด Satellite Finder ออก แล้วต่อสาย RG-6 จาก LNB ตรงเข้ากับเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมของท่าน ข้อพึงระมัดระวัง 1. ในกรณีที่ท่านใช้หาสัญญาณดาวเทียมย่าน C Band กรุณาอย่านำ Satellite Finder ไปอยู่ตรงหน้าจานหรือใกล้กับหน้าจานดาวเทียม เนื่องจากเข็มจะกระดิกขึ้นเต็มจอตลอดเวลา ควรอยู่ห่างๆด้านข้างๆของจานดาวเทียม 2. ถ้าสัญญาณมาแรงจนเข็มกระดิกขึ้นเต็มจอ ขอให้ท่านรีบหมุนปุ่มปรับความไว ให้เข็มลดลงและเสียงจะเบาตามลงด้วย อย่าให้เสียงดังนานจนเกินไป อาจเสียหายได้ 3. ห้ามตกหล่น กระแทก หรือวางของทับ ควรห่างความร้อน ความชื้นและแม่เหล็ก








มัลติมิเตอร์
มัลติมิเตอร์แบบเข็ม (analog multimeter, AMM) เป็นเครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าหลายประเภทรวมอยู่ในเครื่องเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วมัลติมิเตอร์จะสามารถใช้วัดปริมาณต่อไปนี้
- ความต่างศักย์กระแสตรง (DC voltage)
- ความต่างศักย์กระแสสลับ (AC voltage)
- ปริมาณกระแสตรง (DC current)
- ความต้านทานไฟฟ้า (electrical resistance)
อย่างไรก็ตามมัลติมิเตอร์บางแบบสามารถใช้วัดปริมาณอื่น ๆ ได้อีก เช่น กำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (AF output) การขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (DC current amplification, hFE) กระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (leakage current, lCEO) ความจุทางไฟฟ้า (capacitance) ฯลฯ
มัลติมิเตอร์แบบเข็ม มีลักษณะดังภาพข้างล่าง













มัลติมิเตอร์แบบเข็ม


ส่วนประกอบสำคัญของมัลติมิเตอร์แบบเข็ม
ส่วนประกอบสำคัญของมัลติมิเตอร์แบบเข็มข้างต้น (ซึ่งแสดงหมายเลขกำกับไว้แล้ว) ได้แก่
1. ที่ปรับการชี้ศูนย์ (indicator zero corrector): ใช้สำหรับการปรับให้เข็มชี้ศูนย์ขณะยังไม่ได้ใช้ทำการวัด
2. สวิตช์เลือกปริมาณที่จะวัดและระดับขนาด (range selector switch knob) : เป็นสวิตช์ที่ผู้ใช้จะต้องบิดเลือกว่าจะใช้เครื่องวัดปริมาณใด ซึ่งมีทั้งหมด 4 ปริมาณแต่ละปริมาณมีช่วงการวัดให้เลือก ดังนี้
ACV : 0-10V, 0-50 V, 0-250 V และ 0-1000 V (รวม 4 ช่วงการวัด)
DCV : 0-0.1 V, 0-0.5 V, 0-2.5 V, 0-10 V, 0-50 V, 0-250 V และ 0-1000 V (รวม 7 ช่วงการวัด)
DCA :0-50 A,0-2.5 mA,0-25mA,และ0-0.25 A (รวม 4 ช่วงการวัด)

Resistance ( ) :
x 1
(อ่านได้ 0-2k )

x 10
(อ่านได้ 0-20k )

x 1k
(อ่านได้ 0-2000k หรือ 2 M )

x 10k
(อ่านได้ 0-20 M )( รวม 4 ช่วงการวัด)
3. ช่องเสียบสายวัดขั้วบวก (measuring terminal +)
4. ช่องเสียบสายวัดขั้วลบ (measuring terminal -COM)
5. ช่องเสียบสายวัดขั้วบวกกรณีวัดกำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (output terminal)
6. ปุ่มปรับแก้ศูนย์โอห์ม (0 adjust knob) : ใช้เพื่อปรับให้เข็มชี้ศูนย์โอห์มเมื่อนำปลายวัดทั้งคู่มาแตะกันก่อนทำการวัดค่าความต้านทานในแต่ละช่วงการวัด
7. แผงหน้าปัด (panel)
8. เข็มชี้ (indicator pointer)
9. สายวัด (test lead) : ประกอบด้วยสาย 2 เส้น สีแดงสำหรับขั้วบวกและสีดำสำหรับขั้วลบ
10. สเกลการวัด (reading scales) : ประกอบด้วย 7 สเกลการวัดเรียงลำดับจากบนสุดลงล่างดังนี้ (ดูจากเครื่องวัดประกอบด้วย)









สเกลการวัด

1. สเกลวัดความต้านทาน ( ) ด้านล่างของสเกลนี้มีกระจกเงาเพื่อช่วยแก้ความคลาดเคลื่อนในการอ่านเนื่องจากแพรัลแลกซ์
2. สเกลวัดความต่างศักย์กระแสตรง (DCV) และปริมาณกระแสตรง (DCA) มีสีดำ
3. สเกลวัดความต่างศักย์กระแสสลับ (ACV) มีสีแดง
4. สเกลวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ (hFE) มีสีน้ำเงิน
5. สเกลวัดกระแสรั่วของทรานซิสเตอร์ (LEAK, ICEO, Ll) มีสีน้ำเงิน
6. สเกลวัดความต่างศักย์ระหว่างปลายขณะวัดความต้านทาน (LV) มีสีน้ำเงิน
7. สเกลวัดกำลังออกของสัญญาณความถี่เสียง (dB) มีสีแดง
ความไว (sensitivity) ของเครื่องวัดนี้ระบุไว้ที่ตอนล่างด้านซ้ายของสเกลการวัด เพื่อบ่งให้ทราบค่ากระแสที่ผ่านเครื่องวัดสำหรับการอ่านค่าสเกลการวัดหนึ่ง ๆ โดยบอกในรูปโอห์มต่อโวลต์ (ohm per volt) โดยทั่วไปแล้ว เครื่องวัดที่มีความไวสูง จะมีค่าโอห์มต่อโวลต์สูง

DC 20 k /V หมายความว่า ขณะใช้การที่วัดที่สเกล DCV เมื่ออ่านค่าได้ 1 VDC ความต้านทานภายในเครื่องวัดจะเป็น 20 k ดังนั้นกระแสที่ผ่านเครื่องวัดขณะนี้จะเป็น

AC 8 k /V หมายความว่า ขณะใช้การวัดที่สเกล ACV เมื่ออ่านค่าการวัดได้ 1 VAC ความต้านทานภายในเครื่องวัดจะเป็น 8 k ดังนั้นกระแสที่ผ่านเครื่องวัดขณะนี้จะเป็น

การอ่านผลการวัดจากสเกลเครื่องวัด
ก่อนทำการอ่านผลการวัดจะต้องทราบก่อนว่า ค่าที่อ่านได้จากสเกลเครื่องวัดนี้ มีความเชื่อถือได้มากน้อยเท่าใด นั่นคือต้องทราบความแม่น (accuracy) ของเครื่องวัดด้วย ซึ่งปกติจะมีระบุไว้ในคู่มือของเครื่องวัดนั้นๆ สำหรับเครื่องวัดที่จะได้ศึกษามีรายละเอียดดังตารางข้างล่าง
Measurement
Measurement ranges
Allowance
Remarks
DCVoltage(DCV)
0-0.1 V -0.5 V -2.5 V -10 V -50 V -250 V 1000 V-(25kV)25 kV with HV probe extra
3%fsexcept25 kV
Imput impedance20 k /V
ACVoltage(ACV)
0-10 V -50 V -250 V -1000 V30 Hz ~ 50 kHz 1 dB ( 50 V or less )50 Hz ~ 20 kHz 3% ( 50 V or less )
4% fs
Input impedance9k /V
DCCurrent(DCA)
0-50 A -2.5 mA 25 mA 0.25 A
50 A at 0.1 VDC position
3% fs
Voltage drop250 mV (100 mV for 50 A)
Resistance( )
Range X 1 - X 10 - X 1k -X 10kMinimum 0.2 - 2 - 200 - 200 k ( )Midscale 20 - 200 - 20 k - 200 k ( )Maximum 2k - 20k - 2M - 20M )
3% of are
Internal batteriesUM -3 x 2006 P x 1
AFOutput(dB)
-10 dB ~ +22 dB (for 10 VAC) ~ +62 dB0 dB/0.775 V (1 mW through 600 )
4% fs
9 k /V forOUTPUTTerminal





ในช่องที่ 3 ในแนวตั้ง จะบอกถึงความแม่นของแต่ละสเกลการวัด เช่น สเกล DCV มีความแม่น 3% fs (fs ย่อมาจาก full scale) หมายถึง ขณะหมุนปุ่มเลือกไปที่ 0-10V ถ้าเข็มชี้เต็มสเกลคือ ชี้ที่ 10 V ค่าที่อ่านได้จะเป็น 10 V 3% ซึ่งมีค่าเท่ากับ 10 0.3V ดังนั้นเราจึงสามารถประมาณได้ว่า ค่าที่อ่านได้จากช่วงสเกล 0-10V นี้ จะมีความแม่นอยู่ในขอบเขต 0.3V
สำหรับความเที่ยง (precision) พิจารณาได้จากการแบ่งขีดสเกลเล็กที่สุด จะเห็นว่าสำหรับสเกล DCV ช่องสเกลเล็กสุดเท่ากับ 2 mV ดังนั้นเราจะประมาณค่าระหว่างช่องเล็กสุดได้อีกหนึ่งตำแหน่งทศนิยม นั่นคือ ความเที่ยงจะเป็น 0.1 mV สำหรับ DCV ส่วนสเกล ACV ช่องสเกลเล็กที่สุดเท่ากับ 200 mV ดังนั้นเราจะประมาณค่าระหว่างช่องเล็กสุดได้อีกตำแหน่งหนึ่งของหลักนั่นคือ ความเที่ยงจะเป็น 10 mV สำหรับ ACV
ในกรณีที่เราสามารถทราบค่าทั้งความเที่ยงและความแม่นของค่าที่วัดได้ ควรใช้เฉพาะค่าความแม่นเท่านั้น เพราะจะแสดงถึงขอบเขตความผิดพลาดเมื่อเทียบกับปริมาณมาตรฐาน
การเตรียมก่อนทำการวัด
การปรับแก้การชี้ศูนย์ของเข็มชี้ ให้ดำเนินการดังนี้
- วางเครื่องวัดบนพื้นโต๊ะให้อยู่ในแนวราบ (เพื่อให้แกนการหมุนของเข็มชี้อยู่ในแนวดิ่ง)
- ยังไม่ต้องต่อสายเสียบใดๆ กับเครื่องวัด
- ก้มดูที่เข็มชี้ว่าอยู่ในแนวทับกับขีดศูนย์ (ทางด้านซ้ายสุดของสเกล DCV,A) หรือไม่ ให้สังเกต
ภาพเสมือนของเข็มชี้ในกระจกเงาเหนือสเกล DCV,A ด้วยว่า เข็มชี้ซ้อนทับบนภาพเสมือนของเข็มชี้หรือไม่
- ถ้าเข็มชี้ตรงขีดศูนย์พอดี เครื่องวัดพร้อมที่จะใช้งานได้
- แต่ถ้าเข็มชี้ไม่ตรงขีดศูนย์ จะต้องใช้ไขควงปลายแบนหมุนปรับที่ปรับการชี้ศูนย์
ข้อควรระวังในการวัด
1. เมื่อการวัดเกี่ยวข้องกับความต่างศักย์สูง (ตั้งแต่ 50 V ขึ้นไป) อย่าให้นิ้วมือหรือส่วนใดของร่างกายสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะของปลายวัด เพราะอาจเป็นอันตรายได้
2. ก่อนวัดปริมาณใด ต้องแน่ใจว่า ได้หมุนสวิตช์เลือกปริมาณที่จะวัดตรงตามปริมาณที่จะวัดแล้ว มิฉะนั้นแล้วเครื่องวัดอาจชำรุดเสียหาย
3. ต้องแน่ใจว่าหมุนสวิตช์เลือกช่วงการวัดให้อยู่ในช่วงที่สูงมากกว่าปริมาณที่จะวัด เช่น จะวัดความต่างศักย์ระหว่างขั้วแบตเตอรี่ 12V ก็ต้องตั้งปุ่มเลือกช่วงการวัดไว้ที่ DCV ช่วง 0-50V ถ้าไม่ทราบขนาดโดยประมาณของปริมาณที่จะวัด ให้ตั้งเลือกช่วงการวัดให้สูงที่สุดก่อน (เช่น ตั้งที่ 0-1000V) แล้วค่อยลดระดับช่วงการวัดต่ำลงมาทีละช่วง
4. ถ้าในการวัด DCV หรือ DCA เข็มชี้ไม่เบนไปทางขวาแต่พยายามเบนมาทางซ้าย แสดงว่ากระแสผ่านเครื่องวัดในทิศทางไม่ถูกต้อง ให้สลับขั้วปลายวัด
5. ถ้าเข็มชี้ไม่ขยับจากการชี้ศูนย์หรือเบนออกมาเพียงเล็กน้อย แสดงว่ากระแสผ่านเครื่องวัดน้อยเกินไป ให้ปรับลดช่วงการวัดต่ำลงกว่าเดิมทีละขั้น จนกระทั่งเข็มชี้อยู่ประมาณกลางสเกล






มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข
มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข (Digital Multimeter, DMM) สามารถวัดปริมาณทางไฟฟ้าได้หลายประเภท
เช่นเดียวกับมัลติมิเตอร์แบบเข็ม นอกจากนี้ยังสามารถวัดปริมาณกระแสสลับ วัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ วัดความจุไฟฟ้าและตรวจสอบไดโอดได้อีกด้วย

มัลติมิเตอร์แบบตัวเลข
ส่วนประกอบที่สำคัญของมัลติมิเตอร์แบบตัวเลข
1. จอแสดงผล (display)
2. สวิตซ์เปิด-ปิด (ON-OFF)
3. สวิตช์เลือกปริมาณที่จะวัดและช่วงการวัด (range selector switch) สามารถเลือกการวัดได้ 8 อย่าง ดังนี้
1. DCV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรง มี 5 ช่วงการวัด2. ACV สำหรับการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสสลับ มี 5 ช่วงการวัด3. DCA สำหรับการวัดปริมาณกระแสตรง มี 3 ช่วงการวัด4. ACA สำหรับการวัดปริมาณกระแสสลับ มี 2 ช่วงการวัด5. สำหรับการวัดความต้านทาน มี 6 ช่วงการวัด6. CX สำหรับการวัดความจุไฟฟ้า มี 5 ช่วงการวัด7. hFE สำหรับการวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์8. สำหรับตรวจสอบไดโอด
4. ช่องเสียบสายวัดร่วม :(COM) ใช้เป็นช่องเสียบร่วมสำหรับการวัดทั้งหมด (ยกเว้นการวัด CX และ hFE ไม่ต้องใช้สายวัด)
5. ช่องเสียบสายวัด mA สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 0-200 mA
6. ช่องเสียบสายวัด 10A สำหรับวัด DCA และ ACA ที่มีขนาด 200 mA-10A
7. ช่องเสียบสำหรับวัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์
8. ช่องเสียงสำหรับวัดความจุไฟฟ้า
9. ช่องเสียบสายวัด V
นอกจากนี้บนแผงหน้าของมัลติมิเตอร์แบบตัวเลขยังมีสัญลักษณ์เพื่อความปลอดภัย (safety symbols) กำกับไว้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สากลสำหรับเตือนผู้ใช้ให้มีความระมัดระวังในการใช้เครื่องมือ เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ใช้เองและให้เครื่องมืออยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งานได้เสมอ สัญลักษณ์ที่กล่าวนี้ได้แก่
หมายถึง ให้ดูคำอธิบายในคู่มือ หมายถึง ความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง




ลักษณะเฉพาะบางประการของเครื่องวัด
1. จอแสดงผล (display) แสดงด้วยตัวเลข หลัก ( digit) เนื่องจากค่าสูงสุดที่สามารถแสดงได้คือ 1999 ตัวเลขหลักที่ 1, 2 และ 3 (นับจากขวาสุดไปทางซ้าย) แปรค่าได้จาก 0 ถึง 9 (เรียกว่า full digit) ส่วนตัวเลขหลักที่ 4 จะแสดงตัวเลขได้เฉพาะ 1 เท่านั้น (เรียกว่า half digit)
2. สภาพขั้ว (polarity) ในการวัดปริมาณทางไฟฟ้าบางชนิดเช่นความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรงด้วยเครื่องวัดที่ใช้เข็มชี้เป็นตัวแสดงผล เมื่อต่อสายวัดผิดขั้ว เข็มของเครื่องวัดจะตีกลับในทิศตรงข้าม ในสภาวะเช่นนี้สำหรับมัลติมิเตอร์แบบตัวเลขจะปรากฏเครื่องหมาย - บนจอแสดงผล
3. ในการวัดปริมาณใด ๆ ที่ตั้งช่วงการวัดต่ำกว่าค่าที่จะวัด จอแสดงผลจะแสดงตัวเลข 1 หรือ -1 เช่น จะวัดความต้านทาน 10 k แต่ตั้งช่วงการวัดไว้ที่ 0-2 k จะปรากฏ 1 แสดงว่าค่าที่จะวัดสูงกว่าช่วงการวัดที่ตั้งไว้
4. เมื่อแหล่งจ่ายกำลังให้เครื่องวัด คือ แบตเตอรี่ 9V อ่อนกำลัง LO BAT จะปรากฎบนจอเตือนให้ผู้ใช้เปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
ความแม่น (accuracy) ของเครื่องวัด
ค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัดจะมีความเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความแม่นของเครื่องวัด ซึ่งจะระบุไว้ในคู่มือการใช้เครื่องมือนั้น ๆ การบอกความแม่นมีวิธีบอกได้หลายแบบ มัลติมิเตอร์แบบเข็ม ซึ่งเป็นเครื่องวัดที่ใช้การเบี่ยงเบนของเข็มชี้เป็นตัวแสดงผล บอกความแม่นเป็น %fs สำหรับมัลติมิเตอร์แบบตัวเลขนิยมบอกความแม่นเป็น (% reading + number of digits of error) เขียนย่อเป็น (%rdg + no. of dgt) ซึ่งจะมีค่าเปลี่ยนไปสำหรับแต่ละปริมาณที่จะวัด และอาจจะเปลี่ยนไปได้อีกเมื่อเปลี่ยนช่วงการวัด ดังตัวอย่างในตาราง
1.2 Electrical SpecificationsINTRODUCTIONAccuracies are (%reading plus number of digits). At 23 5oC, less than 75% RH.
DC VOLTAGE

RANGEACCURACYRESOLUTIONINPUT IMPEDANCEOVERLOAD PROTECTION
400 mV,4V,40V,400V,1000VALL RANGE (0.5% RDG+1 DGT)100 v TO 1V20 M 500VDC/350VAC FOR 15 SEC. ON 400mV RANGE 1200 VDC/800VAC ONOTHER RANGE
AC VOLTAGE

RANGEACCURACY
400mV,4V,40V,400V, 750V.400mV-400V @50-500HZ (1%RDG+4DGTS). 750V @50-500HZ, (1.5% RDG+4DGTS).
RESOLUTIONINPUT IMPEDANCEOVERLOAD PROTECTION
100 V to 1V.20 M 500VDC/350VAC FOR 15 SEC. ON400mV RANGE 1200VDC/800VAC ONALL OTHER RANGE.
DC CURRENT

RANGEACCURACY
40mA. 400mA. 10A10A RANGE, (2% RDG+3DGTS)OTHER RANGE (1% RDG+1DGT)
RESOLUTIONVOLTAGE BURDENOVERLOAD PROTECTION
10 a TO 10mA10A RANGE 700mV MAX.10A INPUT, UNFUSE, UP TO 12A FOR30 SEC. OTHER RANGE INPUT. 0.8A/250V FUSE.
AC CURRENT

RANGEACCURACY
40mA. 400mA, 10A.10A RANGE @50-500HZ, (2% RDG+4 DGTS) OTHER RANGE @50-500HZ.(1.2%RDG-4DGTS)
RESOLUTIONVOLTAGE BURDENOVERLOAD PROTECTION
10 A to 10mA10A RANGE 700 mV. MAX.10A INPUT. UNFUSE, UP TO 12AFOR 30 SEC. OTHER RANGE INPUT.0.8A/250V FUSE.




RESISTANCE

RANGE
400 , 4K , 40K , 400K , 4M 40M , 400M
ACCURACY
400M , 5%RDG-20DGTS40M , 3%RDG+3DGTS400 , 1%RDG+3DGTSOTHER RANGE 0.8%RDG-1DGT
RESOLUTIONOVERLOAD PROTECTIONTEST VOLTAGE
100m TO 100K 500VAC/DC A DC 500 VDC/AC400 , 400M , 3.4V MAX. OTHERRANGES, 0.6V MAX.
CAPACITANCE

RANGEACCURACYTEST FREQUENCYTEST VOLTAGERESOLUTION
4nF, 40nF, 400nF, 4 F, 40 F.ALL RANGE (3% RDG+10 DGTS)400HZ50mV1PF TO 10nF.

จากตารางจะเห็นว่า ถ้าเป็นการวัด DCV ความแม่นอยู่ในขอบเขต (0.5% rdg + 1dgt) ทุกช่วงการวัด ถ้าเป็นการวัด DCA ความแม่นอยู่ในขอบเขต (1.0% rdg+1 dgt) เฉพาะในช่วงการวัด 3 ช่วงแรก ส่วนช่วงการวัด 0-10 A ความแม่นจะอยู่ในขอบเขต (2.0%rdg+3dgt) เป็นต้น ตัวอย่างการหาความแม่น
ในการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรงของเซลล์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง (สมมติว่าค่าไม่เกิน 1.7V) ต้องบิดสวิตช์เลือกการวัดไปที่ DCV และเลือกช่วงการวัด 0-2 V ช่วงการวัดนี้มีความแม่น (0.5% rdg+1dgt) ซึ่งหาได้ดังนี้
สมมติค่าที่อ่านได้ (reading) จากจอแสดงผล = 1.604V
ดังนั้น 0.5% rdg = 0.5 x 10-2 x 1.604V = 0.008V
และ 1dgt = 0.001 V ได้จากการพิจารณาว่าค่าที่อ่านได้คือ 1.604V เกิดจากการนับ 1604 ครั้ง ในการนับทั้งหมด 1604 ครั้งนี้มีความผิดพลาดได้ 1 ครั้ง ดังนั้น 1dgt ในที่นี้คือ 1 ใน 1604 หรือประมาณ 0.001 V ใน 1.604V
ข้อควรระวังและการเตรียมสำหรับการวัด
1. ก่อนการวัดปริมาณใด ต้องแน่ใจว่า
1) บิดสวิตซ์เลือกการวัดตรงกับปริมาณที่จะวัด 2) สวิตซ์เลือกการวัดอยู่ในช่วงการวัดที่เหมาะสมไม่ต่ำกว่าปริมาณที่จะวัดในกรณีที่ไม่ทราบปริมาณที่จะวัดมีค่าอยู่ในช่วงการวัดใด ให้ตั้งช่วงการวัดที่มีค่าสูงสุดก่อนแล้วค่อยลดช่วงการวัดลงมาทีละช่วง
2. เนื่องจากช่องเสียบสายวัด (สีแดง) มีหลายช่อง คือ V- , mA และ 10 A ต้องแน่ใจว่าเสียบสายวัดสีแดงในช่องเสียบตรงกับปริมาณที่จะวัด
3. ในกรณีที่วัดความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงตั้งแต่ 25 VAC หรือ 60 VDC ขึ้นไป ระวังอย่าให้ส่วนใดของร่างกายแตะวงจรที่กำลังวัดจะเป็นอันตรายได้
4. ในขณะที่กำลังทำการวัด และต้องการปรับช่วงการวัดให้ต่ำลงหรือสูงขึ้นหรือเลือกการวัดปริมาณอื่น ให้ดำเนินการดังนี้
1) ยกสายวัดเส้นหนึ่งออกจากวงจรที่กำลังทดสอบ2) ปรับช่วงการวัดหรือเลือกการวัดปริมาณอื่นตามต้องการ3) ทำการวัด
5. การวัดปริมาณกระแสสูง (~10A) ควรใช้เวลาวัดในช่วงสั้นไม่เกิน 30 วินาที
6. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ให้เลื่อนสวิตซ์ปิด-เปิด มาที่ OFF ถ้าไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน ควรเอาแบตเตอรี่ออกด้วย


สรุป
สำหรับในการใช้เครื่องมือวัดนั้น นักเรียนนักศึกษาจำเป็นจะต้องทำการศึกษาเครื่องมือต่าง ๆให้เข้าใจเสียก่อน เพราะมีเครื่องมือที่บริษัทผลิตออกมาต่าง ๆมากมาย พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นความตั้งใจเท่านั้นที่จะทำให้นักเรียนทุกคนเป็นคนที่มีความคิดพัฒนาตนเองได้ในที่สุด